12 ส.ค. 2555

Asynchronous Tools& Synchronous Tools


Asynchronous Tools


   Asynchronous tools enable communication and  collaboration over a period of time through a "different time different place" mode. These tools allow people to connect together at each person's own convenience and own schedule. Asynchronous tools are useful for sustaining dialogue and collaboration over a period of time and providing people with resources and information that are instantly accessible, day or night.
    Asynchronous tools possess the advantage of being able to involve people from multiple time zones. In addition, asynchronous tools are helpful in capturing the history of the interactions of a group, allowing for collective knowledge to be more easily shared and distributed. The primary drawback of asynchronous technologies is that they require some discipline to use when used for ongoing communities of practice (e.g., people typically must take the initiative to "login" to participate) and they may feel "impersonal" to those who prefer higher-touch synchronous technologies.


  Synchronous Tool
                       
   Synchronous tools enable real-time communication and collaboration in a "same time-different place" mode. These tools allow people to connect at a single point in time, at the same time. 
   Synchronous tools possess the advantage of being able to engage people instantly and at the same point in time. The primary drawback of synchronous tools is that, by definition, they require same-time participation -different time zones and conflicting schedules can create communication challenges. In addition, they tend to be costly and may require significant bandwidth to be efficient.

ที่มา:
                                                                                     



สรุปบทความที่3Applying Innovative Spirit to Multimedia Foreign Language Teaching



Applying Innovative Spirit to Multimedia Foreign Language Teaching
การประยุกต์จิตวิญญาณแห่งนวัตกรรมลงในสื่อการสอนภาษาต่างประเทศ

 
1. บทนำ
         ในปัจจุบัน ผู้คนต่างตระหนักถึงความสำคัญของการเรียนรู้ด้วยตนเอง ดังนั้น การเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ และการฝึกฝนด้วยตัวผู้เรียนเองกลายเป็นหัวข้อที่คนกำลังให้ความสนใจ ด้วยพัฒนาการทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สื่อเทคโนโลยีถูกใช้งานในการสอนมากขึ้น รวมถึงในการสอนภาษาอังกฤษเช่นกัน ตัวอย่างเช่นหลักสูตรภาษาอังกฤษระดับวิทยาลัย ซึ่งเป็นที่คาดหวังการใช้สื่อและระบบเครือข่ายในการสอนรูปแบบใหม่ ขณะเดียวกัน ผู้เรียนก็ได้รับการแนะนำให้เรียนภาษาอังกฤษโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยมากขึ้น จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่าการผสมผสานระหว่างสื่อเทคโนโลยี กับการสอนภาษาอังกฤษถูกปลูกฝังลงในวิธีการสอน แต่นี้จะช่วยให้การเรียนภาษาประสบความสำเร็จจริงหรือ

        
 คำตอบคือไม่ ในทางปฏิบัติ สื่อเทคโนโลยีเหล่านี้ยังคงมีข้อบกพร่อง อีกทั้งความเข้าใจผิดของครูผู้สอน หรือแม้แต่เนื้อหาที่มีอยู่ในวงที่จำกัด ท้ายที่สุด ผลออกมาเป็นว่าเกิดความไม่สมดุลในบางสถานศึกษา ที่ลงทุนมาก แต่ผลตอบแทนกลับไม่คุ้มค่าอย่างที่คิด การที่การใช้สื่อในการสอนภาษานั้นจะประสบผลสำเร็จหรือไม่ จะต้องขึ้นอยู่กับจิตวิญญาณแห่งนวัตกรรมในตัวครูผู้สอน, การมีแนวคิดของนวัตกรรมการสอนของตนเอง, การใช้วิธีการสอนที่หลากหลาย และความคิดสร้างสรรค์ที่ปฏิบัติได้จริง
2. สื่อการสอน และแนวคิดนวัตกรรมทางการศึกษา

         ธรรมเนียมการสอนภาษาอังกฤษแบบเก่าๆ นั้น จะพึ่งพาการผสมผสานระหว่างครูผู้สอน นักเรียน ชอล์ค กระดานดำ และเทปบันทึกเสียง ในขณะที่การสารโดยใช้สื่อ จะรวมเอา ครู นักเรียน คอมพิวเตอร์ และบทเรียนเข้าด้วยกัน ซึ่งจะมีทฤษฎีสร้างความรู้ใหม่ด้วยตนเอง ตามทฤษฎีนี้ ผู้เรียนจะไม่เป็นแค่ผู้รับความรู้อยู่เฉยๆ แต่จะเป็นผู้สร้างที่กระตือรือร้นด้วย ดังนั้นผู้เรียนก็จะสามารถนำความรู้ที่ได้รับนอกห้องเรียน มาสร้างเป็นความรู้ใหม่ๆ ได้ ด้วยเหตุนี้ ผู้เรียนจะประสบความสำเร็จในการเรียน


            ทฤษฎีนี้ถือเป็นทฤษฎีพื้นฐานของการสอนภาษาอังกฤษโดยใช้สื่อ ขณะที่กำลังสอนโดยใช้สื่อ ตัวครูเองก็ต้องสร้างสรรค์ หรือริเริ่มแนวคิดเกี่ยวกับนวัตกรรมการศึกษา เป็นของตนเองอยู่ตลอดเวลา เพราะการสอนโดยใช้สื่อเทคโนโลยี จะไม่สามารถแสดงศักยภาพได้ด้วยการใช้มันเป็นแค่กระดาษ และตัวชี้เท่านั้น
         
 ดังนั้น ครูควรนำบทเรียนมาใช้ดำเนินการแก้ปัญหาการศึกษา ขณะเดียวกันก็หลบเลี่ยงวิธีการสอนแบบยัดเยียดซึ่งปกตินิยมใช้กัน เปลี่ยนเป็นการจัดการชั้นเรียนอย่างเหมาะสม เพื่อเปลี่ยนรูปแบบการสื่อสารของผู้สอนกับผู้เรียน จากแบบหุ่นยนต์ สั่ง ทำตาม สั่ง ทำตาม เป็นแบบครูกับนักเรียน และนักเรียนกับนักเรียน เพื่อเพิ่มการมีส่วนร่วมของตัวผู้เรียนในกระบวนการเรียนการสอนอีกด้วย

3. การใช้สื่อการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ และการค้นพบรูปแบบการสอนภาษาใหม่ๆ
          ประโยชน์อย่างหนึ่งของการใช้สื่อในการสอนภาษาคือ เป็นการช่วยเพิ่มรูปแบบ วิธีการ และคำนิยามของการสอนภาษาให้มากขึ้น ด้วยเหตุนี้ การเพิ่มประสิทธิภาพของทรัพยากรในการสอนไปสู่ขั้นสูง จะช่วยเพิ่มโอกาสประสบความสำเร็จของการเรียนภาษา

            3.1 ผลกระทบเชิงบวกของสื่อต่อการสอนภาษาต่างประเทศ
                        1. สื่อการสอนจะช่วยเพิ่มคุณค่าของข้อมูลในการสอน และช่วยประหยัดเวลาจากการเขียนกระดานดำ และยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของชั้นเรียนอีกด้วย เวลาที่เพิ่มมาก็สามารถนำไปใช้ทบทวนบทเรียนได้
                      2.  ด้วยการบูรณาการแสง สี เสียง และรูปภาพ เข้าด้วยกัน ไว้ในสื่อ จะช่วยยกระดับการสอน และรูปแบบการเรียนรู้ ทั้งที่ตัวผู้สอนเอง และตัวผู้เรียน สภาพแวดล้อมที่มีปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน จะช่วยให้ผู้เรียนได้รับผลตอบกลับในทันที เพื่อให้ทราบถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้
                     3. ครูผู้สอนสามารถแสดงเนื้อหาบทเรียนได้ด้วยข้อมูลที่หลากหลาย เช่น ครูสามารถบันทึกรายการโทรทัศน์ลงในแผ่นดิส และให้นักเรียนชมเพื่อให้ทันความเป็นไปของโลก
                4.  ข้อมูลมัลติมีเดียแบบหลายมิติ จะช่วยปลูกฝังการคิดแบบเชื่อมโยงให้แก่นักเรียน ความคิดของมนุษย์นั้นจะสะท้อน และเชื่อมโยงกัน ทั้งเสียง ภาพ ความรู้สึก และตัวเลข จะช่วยสร้างประสิทธิภาพของความคิดและความทรงจของมนุษย์ ครูสามารถใช้สื่อสร้างความยืดหยุ่นของข้อมูล และเลือกใช้วิธีการสอน
                  5.  การสอนโดยใช้สื่อจะให้แพลตฟอร์มสำหรับการติดต่อสื่อสารระหว่างครู กับนักเรียน และนักเรียนกับนักเรียน ครูสามารถตอบปัญหาของนักเรียนในห้อง หรือเลือกที่จะตอบข้อซักถามต่อผ่านทางระบบออนไลน์ แม้กระทั้งตรวจข้อสอบของนักเรียนด้วย  ช่องทางนี้ยังเปิดโอกาสให้นักเรียนติดต่อสื่อสารกันเองได้อย่างสะดวกสบายด้วย

3.2 ปัญหาและทางออกที่เกี่ยวข้องกับการสอนโดยใช้สื่อ

          นอกจากผลกระทบเชิงบวกของการใช้สื่อในการสอนแล้ว ข้อผิดพลาด และความเข้าใจผิดอาจเกิดขึ้นในการสอนได้  ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะปรากฎในรูปแบบดังต่อไปนี้
          อย่างแรก การครอบงำในการถ่ายทอดความรู้ด้วยข้อมูลสมัยใหม่  บทเรียนแบบง่ายๆ ที่ครูใช้สอน แต่ขาดการใช้นวัตกรรม แบบเรียนนี้อาจง่ายต่อครูในการสอน แต่จะเป็นการละเลยต่อสถานะของผู้เรียน ด้วยเหตุนี้ การใช้สื่อจึงไม่สัมฤทธิ์ผลอย่างที่ควร
          อย่างที่สอง ผลกระทบจากการใช้สื่อมากเกินไป เหมือนต้นไม้ที่ออกดอกมาก แต่ไม่มีผล เมื่อขาดการวิเคราะห์เนื้อหาของบทเรียน และออกแบบการสอนที่เหมาะสม ทำให้ผลการสอนไม่ออกมาอย่างที่คิด วิธีการที่จะนำเสนอต่อไปนี้สามารถนำไปใช้ในการแก้ปัญหาที่กล่าวมาได้


          ขั้นแรก รวมวิชากับสื่อเข้าด้วยกันด้วยวิธีที่ถูกต้อง  การสอนภาษาอังกฤษส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับการฟัง การพูด การอ่านแบบละเอียด และอ่านแบบกว้างๆ  หลักสูตรที่ต่างกัน ก็ต้องการวิธีการสอนและสื่อเทคโนโลยีที่ต่างกัน ครูผู้สอนควรจะสามารถวิเคราะห์ลักษณะความแตกต่างของแต่ละวิชา และเลือกใช้สื่อเทคโนโลยีที่เหมาะสมได้  วิชาที่เกี่ยวกับการฟังและพูดควรจะเน้นที่การสร้างโอกาส และบรรยากาศในการสื่อสารกันในภาษาอังกฤษให้แก่ผู้เรียน ครูสามารถรวมหัวข้อการสื่อสาร และโครงสร้างของประโยคลงในสื่อที่สดใส และใช้งานง่าย เช่น ภาพ เพลง หรือภาพยนต์  ในขณะเดียวกันก็จัดให้ผู้เรียนสร้างบทพูด (Dialogues) บทละคร และการพูดคุยด้วยสื่อ เพื่อเสริมสร้างความน่าสนใจ และความกระตือรือร้นของผู้เรียน





The classroom